โรคติดต่อทางพันธุกรรม
โรคติดต่อทางพันธุกรรม คือ โรคที่มีความผิดปกติของยีนส์
ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ของโครโมโซม จากพ่อและแม่ไปสู่ลูก
โรคทางพันธุกรรมยังไม่สามารถหาทางรักษาได้ เมื่อเป็นแล้วจะเป็นไปตลอดชีวิต โรคติดต่อทางพันธุกรรม สามารถแบ่งความผิดปรกติ
ของโครโมโซมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความผิดปรกติของ โครโมโซมเพศ
และความผิดปรกติของโครโมโซมร่างกาย
11 โรคติดต่อ
ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกมีดังต่อไปนี้
1.โรคธาลัสซีเมีย
เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม
หรือยีนส์ที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่
11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนส์ตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง
ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะธาลัสซีเมีย
2.โรคซีสติกไฟโบรซีส
อาการจะเกิดขึ้นกับปอด และมีอาการอื่น
ๆ เกิดกับตับอ่อน ตับ และลำไส้
ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในโปรตีนขนย้ายคลอไรด์และโซเดียมบนผิวเซลล์เยื่อบุ
ทำให้มีสารคัดหลั่งข้นเหนียวกว่าปกติ
3.โรคคนเผือก
เกิดจากยีนส์ที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างเม็ดสีขึ้นในคนที่มีลักษณะเผือก
โดยส่วนมากแล้ว ภาวะผิวเผือกจะมีผลมาจากการถ่ายทอดยีนส์ด้อยมาจากทั้งพ่อและแม่
โรคคนเผือกไม่ใช่โรคติดต่อ
และไม่เป็นภาหะนำโรคไม่สามารถติดกันได้ด้วยการสัมผัสหรือทางเลือด
4.โรคดักแด้
เป็นอาการความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด
เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งเกิดจาก
การถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหรืออาจเกิดจากการกลายพันธุ์เฉพาะราย
5.โรคท้าวแสนปม
เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดโดยโครโมโซม
ลักษณะที่พบคือ ร่างกายจะมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกาย ขนาดเล็กไปจนใหญ่แตกต่างกัน อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น