วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559



โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

       การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น 2 ประเภทคือ
1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ  หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารทำละลายต่าง ๆ   ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในเชิงสาเหตุและผลกระทบ
2. โรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนประกอบอาชีพ โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกันและการประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ทั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดโรค อาจได้แก่ พันธุ์กรรม พฤติกรรมสุขภาพของคนประกอบอาชีพ ท่าทางการประกอบอาชีพ ลักษณะหรือระบบงานที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น โรคปวดหลังจากการประกอบอาชีพ โรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น โดยสรุป การเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ถ้ามีปัจจัยจากภายนอกมาทำให้เกิดโรค ก็ถือเป็นโรคจากอาชีพ เช่น โรคพิษตะกั่ว (ตะกั่วไม้ใช่สารองค์ประกอบของร่างกาย) โรคซิลิโคสิส (ฝุ่นหินเป็นสารแปลกปลอมในปอด) เป็นต้น แต่ถ้ามีสาเหตุจากปัจจัยส่วนตัวร่วมกับสภาพและสิ่งแวดล้อมการประกอบอาชีพทำให้อาการของโรคมากขึ้น หรือเกิดความผิดปกติชัดเจนยิ่งขึ้น ก็ถือเป็นกลุ่มโรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ เช่น โรคปวดหลัง ซึ่งคนที่มีอริยาบถไม่ถูกต้องมีแนวโน้มปวดหลังได้ง่าย เมื่อต้องมาประกอบอาชีพรีบเร่งหรือยกย้ายของหนัก ๆ ก็ยิ่งทำให้ปวดหลังง่ายขึ้นหรือทำให้อาการปวดหลังกำเริบมากขึ้น เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
โรคติดต่อทางพันธุกรรม 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคติดต่อทางพันธุกรรม

โรคติดต่อทางพันธุกรรม คือ โรคที่มีความผิดปกติของยีนส์  ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ของโครโมโซม จากพ่อและแม่ไปสู่ลูก โรคทางพันธุกรรมยังไม่สามารถหาทางรักษาได้ เมื่อเป็นแล้วจะเป็นไปตลอดชีวิต โรคติดต่อทางพันธุกรรม สามารถแบ่งความผิดปรกติ ของโครโมโซมออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความผิดปรกติของ โครโมโซมเพศ และความผิดปรกติของโครโมโซมร่างกาย
11 โรคติดต่อ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกมีดังต่อไปนี้
1.โรคธาลัสซีเมีย
เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนส์ที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนส์ตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะธาลัสซีเมีย
2.โรคซีสติกไฟโบรซีส
อาการจะเกิดขึ้นกับปอด และมีอาการอื่น ๆ เกิดกับตับอ่อน ตับ และลำไส้ ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในโปรตีนขนย้ายคลอไรด์และโซเดียมบนผิวเซลล์เยื่อบุ ทำให้มีสารคัดหลั่งข้นเหนียวกว่าปกติ
3.โรคคนเผือก
เกิดจากยีนส์ที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายสร้างเม็ดสีขึ้นในคนที่มีลักษณะเผือก โดยส่วนมากแล้ว ภาวะผิวเผือกจะมีผลมาจากการถ่ายทอดยีนส์ด้อยมาจากทั้งพ่อและแม่ โรคคนเผือกไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่เป็นภาหะนำโรคไม่สามารถติดกันได้ด้วยการสัมผัสหรือทางเลือด
4.โรคดักแด้
เป็นอาการความผิดปกติที่ผิวหนังพบได้ตั้งแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งเกิดจาก การถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกหรืออาจเกิดจากการกลายพันธุ์เฉพาะราย
5.โรคท้าวแสนปม
เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดโดยโครโมโซม ลักษณะที่พบคือ ร่างกายจะมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกาย ขนาดเล็กไปจนใหญ่แตกต่างกัน อ่านเพิ่มเติม


การทำงานระบบใหญ่ๆ 3 ระบบ

1.ระบบผิวหนัง
ระบบผิวหนังเป็นระบบที่ห่อหุ้มร่างกาย  เซลล์ชั้นบนมีการเปลี่ยนแปลงมี่สำคัญ คือ มีเคอราทิน(keratin) ใสและหนา มีความสำคัญคือ ป้องกันน้ำเข้าสู่ร่างกาย การเปลี่ยนที่ทำให้เกิด เคอราทิน เรียกว่า เคอราทีทีไนเซซัน (keratinization)
 
                      ส่วนประกอบของชั้นผิวหนัง


ผิวหนังประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่บนพื้นผิว  เรียกว่า หนังกำพร้า (epidermis)
ส่วนที่ลึกไป เรียกว่าหนังแท้
1.หนังกำพร้า (epidermis) เป็นผิวบนสุด ที่ประกอบด้วยเซลล์บางๆ ตรงพื้นผิวไม่มีนิวเคลียส เป็นส่วนที่หลุดลอกเป็นขี้ไคล แล้วสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนอยู่เสมอ ส่วนต่างที่เกิดจากหนังกำพร้า ได้แก่ เล็บมือ เล็บเท้า รูขุมขนในชั้นหนังแท้ ส่วนเซลล์ชั้นในสุดที่ทำหน้าผลิตสีผิว(melanin) เรียกว่า สเตรตัมเจอร์มินาทิวัม(stratum germinativum)
2.หนังแท้ (dermisอยู่ใต้หนังกำพร้า หนาประมาณ 1-2 มิลิเมตร ประกอบด้วยเยื่อเกี่ยวพัน 2 ชั้น คือ
2.1 ชั้นบนหรือชั้นตื้น (papillary layer) เป็นที่นูนมาแทรกหนังกำพร้า เรียกว่า เพ็บพิลลารี (papillary) มีหลอดเลือด และปลายเส้นประสาทฝอย
2.2 ชั้นล่างหรือชั้นลึกลงไป (reticular layer) มีไขมันอยู่ มีรากผมหรือขนและต่อมไขมัน(sebaceous glandsอ่านเพิ่มเติม